fbpx

Rattan In Thailand

“หวายที่พบได้ในประเทศไทย”


หวายเป็นพืชพวกปาล์มและมีหนาม จัดอยู่ในตระกูล Palmae จากการศึกษาพบว่า หวายที่สามารถพบกันได้ในโลกมีถึง ๑๔ สกุล และ ๖๐๐ ชนิด โดยพบในประเทศไทยประมาณ ๗๐ ชนิด สกุล คือ
() สกุล Calamus
() สกุล Daemonorops
() สกุล Korthalsia
() สกุล Plectocomia
() สกุล Plectocomiopsis
() สกุล Myrialepis

. หวายในสกุล Calamus Linn.
เป็นหวายที่ลำต้นยาว เลื้อยปีนป่าย มี cirrus เป็นหวายชนิด dioecious ให้ช่อดอกเป็นแบบ hapaxanthic เกล็ดหุ้มผลเรียงไม่เป็นระเบียบ
หวายในสกุลนี้ มี ๒๘ ชนิด ได้แก่

(หวายตะค้าน้ำ (C. axillaris Becc.)
(หวายขี้ผึ้ง (C. blumei Becc.)
(หวายแส้ม้า (C. bousigonii Becc.)
(หวายตะค้าทอง (C. caesius Bl.)
(หวายจากเขา (C. castaneus Griff.)
(หวายขี้เหร่ (C. densiflorus Becc.)
(หวายขม (C. diepenhorstii Miq.)
(หวายขม (C. erectus Roxb.)
(หวายพังกา (C. erinaceus (Becc.) Dransfield)
(๑๐หวายหนามขาว (C. floribundus Griff.)
(๑๑หวายหิน (C. insignis Griff.)
(๑๒หวายเล็ก (C. javensis Bl.)
(๑๓หวายผิวเบาะ (C. kerrianus Becc.)
(๑๔หวายโป่ง (C. latifolius Roxb.)
(๑๕หวายกำพวน (C. longisetus Griff.)
(๑๖หวายข้อดำ (C. manan Miq.)
(๑๗หวายขี้ไก่ (C. myrainthus Becc.)
(๑๘หวายช้าง (C. ornatus Bl.)
(๑๙หวายดำ (C. oxleyanus Teijsm. et Binn.)
(๒๐หวายขริง (C. palustris Griff.)
(๒๑หวายหอม (C. pandanosmus Furt.)
(๒๒หวายงวย (C. peregrinus Furt.)
(๒๓หวายขี้เหร่ (C. radulosus Becc.)
(๒๔หวายขี้เสี้ยน (C. rudentum Lour.)
(๒๕หวายกำ (C. scipionum Lour.)
(๒๖หวายทราย (C. speciosissimus Furt.)
(๒๗หวายขมนา (C. viminalis Willd.)
(๒๘หวายหัวเดียว (C. sp. aff. setulosus)

. หวายในสกุล Daemonorops Bl.
มีทั้งขึ้นเป็นกอ และเป็นลำเดี่ยวๆ เลื้อย เป็นลำยาวหรือมีลำต้นสั้นๆ กาบหุ้มลำส่วนมากมีหนามหนาแน่น knee มีหรือไม่มี อวัยวะปีนป่ายเป็นแบบ cirrus ไม่มี flagellum ใบย่อย เรียงตัวแบบตรงข้าม เยื้อง สลับ หรือเป็นกลุ่ม ช่อดอกมีกาบรองรับ อัน ซึ่งรองรับช่อดอกไว้เกือบทั้งหมด ช่อดอกย่อยสั้นกว่ากาบรองรับ ดอกเพศผู้ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย กลีบดอก กลีบ เกสรตัวผู้ อัน โคนเชื่อมติดกัน เกสรตัวเมียมีขนาดเล็กเป็นหมัน ดอกเพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ มีลักษณะเหมือนกันแต่อับเรณูไม่มีละอองเกสร
หวายในสกุลนี้ มี ชนิด ได้แก่

(หวายน้ำ (D. augustifolia (Griff.) Mart.)
(หวายพนขี้เป็ด (D. didymophylla Becc.)
(หวายจาก (D. grandis (Griff.) Mart.)
(หวายนั่ง (D. kunstleri Becc.)
(หวายพนขนหนอน (D. sabut Becc.)
(หวายขี้แดง (D. schmidtiana Becc.)
(หวายเคี่ยม (D. tabacina Becc.)
(หวายตาปลา (D. verticillaris(Griff.) Mart.)

. หวายในสกุล Korthalsia Bl.
หวายสกุลนี้ เป็นหวายขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ แข็งแรง ลำต้นเลื้อยปีนป่ายสู่เรือนยอด สามารถแตกกิ่งบริเวณยอดได้ ไม่มี knee มี ocrea ที่มีลักษณะเด่นชัดมากและมีหนามเหมือนกาบหุ้มลำ มีก้านใบชัดหรือเห็นสั้นมาก อวัยวะปีนป่ายเป็นแบบ cirrus ใบย่อยมีจำนวนน้อยเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอไม่เป็นกลุ่ม ใบย่อยรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปหอก ขอบใบตอนปลายหยักเป็นฟันเลื่อย ท้องใบมีขุยสีขาวหรือสีน้ำตาล ใบย่อยมีก้านใบ ให้ช่อดอกแบบ hapaxanthic ช่อดอกเกิดบริเวณปลายยอด แทงทะลุกาบหุ้มลำออกข้างลำต้น เมื่อติดผลแล้วจะหมดอายุ มีแขนงช่อดอกย่อย ดอกหุ้มด้วยกาบจำนวนมาก ช่อดอกมีลักษณะกลม ซ้อนกันแน่น ดอกมีกลีบเลี้ยง กลีบเชื่อมติดกันที่โคน กลีบดอกยาวกว่ากลีบเลี้ยง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ เกสรเพศผู้เชื่อมติดกับกลีบดอกที่โคน มีจำนวน อัน รังไข่มีขนาดเล็กปลายแหลม
หวายสกุลนี้ มี ชนิด ได้แก่

(หวายเดาใหญ่ (K. laciniosa (Griff.) Mart.)
(หวายเดาหนู (K. rigida Blume)
(หวายเดา (K. scortechinii Becc.)

. หวายในสกุล Plectocomia Mart.
หวายสกุลนี้ เป็นหวายชนิดขึ้นเป็นลำเดี่ยวๆ หรือขึ้นเป็นกอ ลำต้นมีขนาดใหญ่แข็งแรง ลำต้นยาวเลื้อยปีนป่าย ไม่มี knee และ ocrea กาบหุ้มลำมีหนามแตกต่างกันตามชนิดหนามเชื่อมติดกันเป็นแถบซี่หวี เรียงรอบหรือเกือบรอบลำต้น ก้านใบสั้นหรือยาว มีอวัยวะปีนป่ายแบบ cirrus ใบย่อยมีจำนวนมาก เรียงตัวเป็นกลุ่มไม่สม่ำเสมอ เป็นหวายชนิด dioecious ช่อดอกเกิดบริเวณปลายยอด เมื่อติดผลแล้วจะหมดอายุ ช่อดอกมีแขนงช่อดอกย่อย แขนงแรกห้อยลงมีกาบรูปเรือเรียงซ้อนกัน ภายในกาบมีช่อดอกย่อยสั้นๆ ซึ่งภายในมีดอกเกิดเดี่ยวๆ ส่วนประกอบของดอก มีกลีบเลี้ยง กลีบ กลีบดอก กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ในดอกเพศผู้มีเกสรตัวผู้ อัน เชื่อมติดกันที่โคน ในดอกเพศเมียมีรังไข่ อัน ส่วนปลายโค้งย้อนกลับ ผลมีขนาดใหญ่มีเกล็ดหุ้ม ปลายผลยังคงเห็นส่วนยอดของเกสรตัวเมีย
หวายในสกุลนี้ มี ชนิด  ได้แก่

(หวายแดง (P. kerrana Becc.)
(หวายเต่าเพราะ (P. macrostachya Kurz.)

. หวายในสกุล Plectocomiopsis Griff.
หวายในสกุลนี้ขึ้นเป็นกอ ลำต้นยาวเลื้อยปีนป่าย ไม่มี knee ocrea อาจมีหรือไม่มีอวัยวะปีนป่ายเป็นแบบ cirrus ใบย่อยเรียงตัวอย่างสม่ำเสมอ ขอบใบเรียบ เป็นหวายชนิด dioecious ให้ช่อดอกเป็นแบบ hapaxanthic ช่อดอกเกิดบริเวณยอดต้นเหนือใบสุดท้าย ดอกเพศผู้ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง กลีบ เชื่อมติดกัน กลีบดอกเชื่อมติดกันที่โคน มี กลีบ เกสรเพศผู้ อัน รังไข่ฝ่อเป็นหมัน ในดอกเพศเมียมีลักษณะเช่นเดียวกันแต่ในอับเรณูไม่มีละอองเกสร ในส่วนของรังไข่ปลายแยกออกเป็น แฉก ผลปลายแหลมยังคงมีส่วนยอดของรังไข่ และมีเกล็ดหุ้ม หวายสกุลนี้พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย คือ

( หวายกุ้งน้ำพราย (Plectocomiopsis geminiflorus (Griff.) Becc.)

. หวายในสกุล Myrialepis Becc.
เป็นหวายที่ลำต้นยาวเลื้อยปีนป่ายมี cirrus เป็นหวายชนิด dioecious ให้ช่อดอกเป็นแบบ hapaxanthic เกล็ดหุ้มผลเรียงไม่เป็นระเบียบ
หวายสกุลนี้พบเพียงชนิดเดียวในประเทศไทย  ได้แก่

( หวายแดง Myrialepis paradoxa (Kurz.) Dransfield)

 

ที่มา : จากหนังสือวิทยานิพนธ์ลักษณะสัณฐานวิทยาของหวายในประเทศไทยโดย สุชาติ โภชฌงค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/13/knowlg.htm

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *