fbpx

Category Archives: About basketry

Information about basketry.
ข้อมูลเกี่ยวกับการจักสาน

แต่ละส่วนของหวายที่นำมาสาน เรียกว่าอะไร หน้าตาเป็นอย่างไร

หวายที่นำมาสานเป็นตะกร้า กระเป๋า ภาชนะ หรือเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ จะแยกเป็น 3 ส่วน  คือ ผิวหวาย ไส้หวาย หวายเส้น 1 ผิวหวาย คือการนำส่วนที่เป็นผิวด้านนอกของหวายมาสาน มีลักษณะเป็นเส้นแบนๆ 2 ไส้หวาย คือการนำเส้นหวายด้านในที่นำผิวหวายออกแล้วมาจักให้เป็นเส้น แล้วเลียดเส้นให้ออกมาเป็นเส้นเท่าๆ กัน อธิบายง่ายๆ คือ นำหวายทั้งเส้นมาเอาผิวด้านนอกออกเหลือแต่ไส้ด้านในหวายเพื่อให้ได้เส้นขนาดที่ต้องการและมีขนาดเท่ากันกันทั้งเส้น 3 หวายเส้น คือเป็นหวายทั้งเส้นที่ยังคงมีผิวหวายอยู่ แต่มีการขัดหรือเกลาให้เปลือกและหนามของหวายออกไปแล้ว ซึ่ง การใช้งานของแต่ละส่วนของหวายขึ้นอยู่กับแบบและขนาดของชิ้นงานที่จะสาน ถ้าชิ้นงานเป็นขนาดเล็ก ส่วนมากจะใช้ไส้หวายมาทำ เพราะหวายเส้นที่ยังมีผิวหวายอยู่จะเส้นใหญ่ จะนำสานใบเล็กๆ ค่อนข้างยาก ***รายละเอียดที่เขียนขึ้นมานี้ (พร้อมรูปประกอบ) ทางมายมูนพยายามจะใช้ภาษาง่ายๆ ในการอธิบาย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจกับวัตถุดิบที่นำมาสาน

About “RATTAN”

หวายเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่งที่เป็นเถาเลื้อยไปตามต้นไม้ใหญ่  และหวายมีหนาม  คุณสมบัติใช้ประโยชน์ในการทำเฟอร์นิเจอร์  หวายส่วนใหญ่ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้มาจากหวายธรรมชาติ  ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ของหวาย  เป็นส่วนของลำต้นที่ลอกเอากาบใบออกแล้ว  นำมาจักสานเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน หวายทุกชนิดสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะแตกต่างกันไป  ประโยชน์เบื้องต้นของหวาย  ได้แก่  การนำมาใช้ผูกมัดสิ่งของต่าง ๆ  ผลนำมาใช้กิน  ลักษณะของต้นหวายจะเป็นลำต้นกลมมีข้อ  ยอดและหน่อของหวายสามารถนำมารับประทานได้  และแปรรูปอาหารได้มากมาย ทั้งเป็นยาสมุนไพร  เช่น  “หวายนั่ง” รากเป็นยารักษาโรคมะเร็ง หวายสามารถปลูกได้ในที่ที่มีความชื้น  หรือมีแหล่งน้ำ  ชายเขา  ป่าดิบ  ในประเทศไทยมีการปลูกหวายในเขตอำเภอกุดบาก  จังหวัดสกลนคร  เขตท้องที่จังหวัดอุดรธานี  การปลูกเพื่อกินหน่อ  และค้าขาย  ในส่วนเขตภาคใต้ของไทย  แถบป่าฮาลาบาลา  จังหวัดนราธิวาส  เป็นหวายป่าดิบสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานจักสาน  หรือเฟอร์นิเจอร์ หวายที่พบในจังหวัดสุรินทร์  และแนวชายแดนประเทศกัมพูชา  ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันว่า  เช่น “หวายหางหนู“  ซึ่งเป็นหวายที่มีความเหนียว  เส้นเล็กมีผิวมันในตัว  “หวายน้ำ“  ลำต้นใหญ่เท่านิ้วก้อย  ชอบขึ้นริมน้ำ  ชาวบ้านนำมาจักสานเช่นกัน  โดยเฉพาะชาวบ้านบุทม  จังหวัดสุรินทร์  นำหวายหางหนูและหวายน้ำ  มาทำจักสานตะกร้าชนิดต่าง ๆ  ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่น  ชนิดของหวายหวาย  มีคุณสมบัติพิเศษ  คือ  สามารถดัดได้  มีความเหนียวเป็นลักษณะเฉพาะ  มีลำต้นขนาดเท่ากันตามชนิด  มีความมันในระดับผิว  จึงเหมาะต่อการจักสาน  ทำเฟอร์นิเจอร์  ขนาดของลำต้นจะมีตั้งแต่  3 – 60 มม.  ความยาวตามสิ่งแวดล้อม  เช่น  อาศัยไม้ที่ปีนป่ายมีความยาวตั้งแต่  10-20  เมตร  อายุการใช้งาน  7-10  ปี  หวายมีหลายชนิด  ทุกประเภททำจักสาน  เฟอร์นิเจอร์  และเป็นอาหาร  รวม  23  ชนิด  หวายที่ทำจักสานในบ้านบุทมใช้หวาย  3  ชนิด1.  หวายหางหนู หรือ หวายตะค้าทอง  เปลือกผิวสีเหลือง  มีความเหนียว  เส้นเท่า ๆ  กัน  เป็นหวายเส้นเล็กมีขนาดยาว  10 -15  เมตร  เลื้อยตามต้นไม้  ขึ้นในป่าทึบ  มีความชื้น  ใช้ลำต้นแก่จัด  อายุ  6 -7  ปี  นำมาดัดทำลายลูกกรง  และผ่าเป็นเส้นเล็ก ๆ  รีดเป็นเส้นเล็ก ๆบาง ๆ  เพื่อทำจักสานต่าง ๆ  หรือใช้ร้อยรัดเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน 2.  หวายน้ำ  เป็นหวายเส้นใหญ่กว่าหวายหางหนู  ลำต้นกลม  ใหญ่ประมาณนิ้วก้อยผู้ใหญ่  มีความยาว  8 -10  เมตร  ชอบขึ้นตามริมน้ำ  เช่น  แม่น้ำชี  แม่น้ำมูล  ใช้ทำโครงสร้างของงานจักสานหรือนำมาจักตอกเป็นเส้นก็ได้3.  หวายนิ่ม เปลือกสีผิวมันวาวคล้ายหวายตะค้าทอง  ลำต้นยาวเสมอ  ขนาดเท่ากับหวายน้ำซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง  10 -15  มม. แต่มีลำต้นยาวถึง  10-50  เมตร  ขึ้นในป่าดิบ  ใช้ทำโครงสร้างงานจักสาน  อ่อนนิ่ม  ดัดง่าย  แก่เนื้อเหนียว การตกแต่งเพื่อให้เกิดความสวยงาม          1.  การทำความสะอาดเมื่อตะกร้าสกปรก มีเชื้อรา ฝุ่นจับ โดยมากชาวบ้านใช้วิธีธรรมชาติ เช่น นำผลมะเฟืองสุกรสเปรี้ยว ถูที่ตัวตะกร้าหรือจะเป็นมะนาวก็ได้ ต่อจากนั้นจึงล้างตากให้แห้งจะได้ตะกร้าที่สะอาด สวยงามตามธรรมชาติ          2. การทาน้ำมัน เพื่อให้ตะกร้ามีเงา ผิวมันสวยเป็นสีไม้ธรรมชาติ และป้องกันเชื้อราได้ด้วย ควรใช้น้ำมันวานิชสีใสเคลือบเงาหรือแลคเกอร์เบอร์ 6 ทาตามวิธีที่กำหนดในกระป๋อง การดูแลรักษาหวาย1.  ผึ่งแดดให้แห้งสนิท2.  ไม่ควรเก็บหวายไว้ในที่ชื้น  พื้นซีเมนต์ควรมีอากาศถ่ายเทได้3.  ใส่สิ่งของให้เหมาะกับขนาดตะกร้า

The Value of Wicker

คุณค่าของเครื่องจักสาน      ดังกล่าวแล้ว จะเห็นว่า เครื่องจักสานไทย ในภาคต่างๆ นั้น มีมากมายหลายชนิด และมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่แตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะถิ่นของเครื่องจักสานเหล่านั้น สะท้อนให้เห็นสภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละท้องถิ่น สภาพการดำรงชีวิต ขนบประเพณี ความเชื่อ ตลอดจนถึงการนับถือศาสนาของกลุ่มชน ที่ผลิตเครื่องจักสาน เครื่องจักสานจึงเป็นศิลปหัตถกรรม มีคุณค่า ในฐานะที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ ได้ดีอย่างหนึ่ง      นอกจากนี้ เครื่องจักสานยังเป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านได้หลายอย่าง เช่น สะท้อนให้เห็นความชาญฉลาด ในการเลือกสรรวัตถุดิบ ที่จะนำมาใช้ทำเครื่องจักสาน ซึ่งชาวบ้านจะมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นอย่างดีแล้ว นำมาดัดแปลงแปรรูปเป็นวัสดุที่ใช้ทำเครื่องจักสานด้วยวิธีง่ายๆ แต่สนองการใช้สอยได้ดี เช่น ชาวภาคใต้นำใบลำเจียก หรือใบปาหนัน มาจักและสานเป็นเสื่อและกระสอบ โดยนำใบลำเจียกไปลนไฟ ให้ใบนิ่ม ก่อนที่จะจักเป็นเส้น หรือนำต้นลำเจียกไปแช่โคลน แล้วรีดให้แบน หรือการจักไม้ไผ่เป็นตอกแบบต่างๆ ให้เหมาะสม ที่จะใช้สานเครื่องจักสานแต่ละชนิด สิ่งเหล่านี้เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ชาวบ้านเรียนรู้ จากการสังเกต และการทดลองสืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ จนทำให้เครื่องจักสานแต่ละชนิด มีรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยที่สมบูรณ์ลงตัว        […]

จักสานคืออะไร

ความหมายเครื่องจักสาน คือ เครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย จากฝีมือความคิด ภูมิปัญญาของชาวบ้านมีลักษณะรูปทรงแตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ วัสดุอุปกรณ์คตินิยม และอาชีพของคนในท้องถิ่นนั้นๆคำว่า “ จักสาน” คำว่า จัก คือ การทำให้เป็นแฉก เป็นหยักๆ ด้วยฟันเลื่อย หรืออีกวิธีการหนึ่ง การที่ชาวบ้านใช้คมมีดผ่าไม้ไผ่แล้วทำให้เป็นเส้นบางๆ วิธีการอย่างนี้ก็เรียกว่า จัก เช่นกัน ส่วนไม้ไผ่ หรือ หวาย ที่จักออกมาเป็นเส้นบางๆ นั้นเรียกว่า ตอก ถึงตอนนี้การที่ชาวบ้านนำตอกมาขัดกันจนเกิดลวดลายที่ต้องการ เราเรียกว่า สาน ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นการสร้างสรรค์ให้เกิดรูปทรงต่างๆ จนท้ายที่สุดเป็นภาชนะสามารถนำไปใช้สอยได้ตามต้องการ

Rattan In Thailand

“หวายที่พบได้ในประเทศไทย” หวายเป็นพืชพวกปาล์มและมีหนาม จัดอยู่ในตระกูล Palmae จากการศึกษาพบว่า หวายที่สามารถพบกันได้ในโลกมีถึง ๑๔ สกุล และ ๖๐๐ ชนิด โดยพบในประเทศไทยประมาณ ๗๐ ชนิด ๖ สกุล คือ (๑) สกุล Calamus (๒) สกุล Daemonorops (๓) สกุล Korthalsia (๔) สกุล Plectocomia (๕) สกุล Plectocomiopsis (๖) สกุล Myrialepis ๑. หวายในสกุล Calamus Linn. เป็นหวายที่ลำต้นยาว เลื้อยปีนป่าย มี cirrus เป็นหวายชนิด dioecious ให้ช่อดอกเป็นแบบ hapaxanthic เกล็ดหุ้มผลเรียงไม่เป็นระเบียบ หวายในสกุลนี้ มี ๒๘ ชนิด ได้แก่ (๑) หวายตะค้าน้ำ (C. axillaris Becc.) (๒) หวายขี้ผึ้ง (C. blumei Becc.) (๓) หวายแส้ม้า […]